3.02.2554

โครงการเสวนาปัญหาสังคม ”การรักษาความปลอดภัยของยานพาหนะในม.บูรพา”

WORKGRO▼P





จอดมอเตอร์ไซค์ในม. แน่ใจได้หรือว่าปลอดภัย?




โปสเตอร์แบบที่ 1



 
โปสเตอร์แบบที่ 2




ความเป็นมาและสถานการณ์ของปัญหา


             มหาวิทยาลัยบูรพาถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในภาคตะวัน
ออก จึงมีนิสิต /นักศึกษาเข้ามาเรียนเป็นจำนวนมากและส่วนใหญ่ใช้ชีวิตในการเรียนอยู่
ภายในมหาวิทยาลัยเกือบจะตลอดทั้งวัน ประกอบกับมหาวิทยาลัยบูรพาเป็นสถานที่เปิด
จึงมีผู้คนเข้าออกอยู่ตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นนิสิต/นักศึกษา อาจารย์และบุคลากร ตลอด
ทั้งประชาชนทั่วไป ซึ่งการเพิ่มขึ้นของนิสิตเป็นเหตุทำให้เกิดการจราจรติดขัดอยู่บ่อยๆ

             นอกจากนี้ยังเกิดการโจรกรรมรถจักรยานยนต์อยู่บ่อยๆภายในมหาวิทยาลัย
บูรพา การนำรถจักรยานยนต์เข้ามาใช้เพิ่มขึ้นของนิสิต แม้ว่าจะมีการรณรงค์เรื่องความ
ปลอดภัยอยู่เสมอแต่ปัญหาก็ยังคงมีอยู่ โดยเฉพาะรถจักรยานยนต์ซึ่งเป็นยานพาหนะที่
ถือว่าสะดวกและมีมากที่สุด ดังนั้นนิสิตส่วนใหญ่จึงต้องการความปลอดภัยในทรัพย์สิน
ของตัวเองในการจอดรถจักรยานยนต์ภายในมหาวิทยาลัยบูรพา เนื่องจากที่ผ่านมาจะ
พบว่าในแต่ละเดือนมีรถจักรยานยนต์หายเป็นจำนวนมาก เป็นเหตุทำให้นิสิตเกิดความ
ไม่ปลอดภัยในทรัพย์สินของตนเอง นอกจากนี้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยก็ไม่
สามารถดูแลได้ทั่วถึง เนื่องจากรถมีจำนวนมาก บางแห่งก็เป็นสถานที่ลับตาคน
ประกอบกับกล้องวงจรปิดมีไม่ทั่วถึง ที่มีก็ไม่สามารถใช้การได้ อีกส่วนหนึ่งก็อาจจะมา
จากความประมาทเลินเล่อของตัวนิสิตเอง การที่จะป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวต้อง
มาจากหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้องโดยตรง




             จากปัญหาตรงจุดนี้ว่าเป็นปัญหาที่ใหญ่และมีความสำคัญ การจึงจัดโครงการ
เสวนาปัญหาสังคมเรื่อง การรักษาความปลอดภัยของยานพาหนะในม.บูรพา (จอด
มอเตอร์ไซค์ในม. แน่ใจได้หรือว่าปลอดภัย? ) นี้ขึ้นมา ก็เพื่อเป็นการหาหนทางหรือแนว
ทางการป้องกันแก้ไขของปัญหานี้ร่วมกัน เพื่อสร้างความเข้าใจของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง


สาเหตุของการหายของยานพาหนะในมหาวิทยาลัย


           - สาเหตุเกิดจากตัวผู้ขับขี่เอง                โดยผู้ขับขี่ขาดความรอบคอบ อาจเกิดจากความรีบร้อน ทำให้ลืมกุญแจไว้กับ
รถ ทำให้รถถูกขโมยไปได้โดยง่าย
               ขาดความรู้สึกในความเป็นเจ้าของ หรือความเสียดายความเป็นเจ้าของมีน้อย

ทำให้ขาดความรับผิดชอบ เช่น การลืมล็อกคอรถ หรือล็อกล้อรถ ทำให้รถ
หายได้ง่าย
              ผู้ขับขี่ประมาณในการจอดรถเช่น จอดรถในที่ที่ไม่มีไฟสว่าง ไม่มีกล้องวงจร
ปิด มุมอับ มีเสาบัง หรือที่เปลี่ยว จึงทำให้ง่ายต่อการขโมย

          - สาเหตุเกิดจากคนอื่น

          ร้านซ่อมรถเป็นสายให้โจร เมื่อเราไปซ่อมรถที่ร้านซ่อมรถ ช่างจะให้เราทิ้งรถ
ไว้ก่อน แล้วค่อยมาเอากลับไปทีหลัง ระหว่างนั้นช่างก้อจะเอากุญแจรถไปปั๊มเก็บเอาไว้
และจะทำการขโมยรถในภายหลัง
              รถที่ผู้ขับขี่ใช้ ตรงตามใบสั่ง หรือยี่ห้อที่โจรต้องการพอดี โจรก็จะทำทุกวิถี
ทาง ไม่ว่าจะยกไปทั้งคัน ใช้ลวดไข ใช้น้ำกรดเข้มข้น หรือกระทั้งใช้ช็อตไฟฟ้า ทำให้
ระบบไฟเสีย เพื่อที่จะได้รถตามต้องการ
              ผู้รักษาความปลอดภัยละเลยต่อการปฏิบัติหน้าที่ ทำให้เกิดความเสียต่อ
ทรัพย์สิน



ผลกระทบของปัญหา

              การจัดโครงการเสวนาครั้งนี้ จึงเป็นการรวมตัวจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้าง
ความเข้าใจอันดีระหว่างกัน แต่ถึงอย่างไรก็ตามการเสวนาฯในครั้งนี้ เป็นเพียงการจัด
เสวนาเล็ก ๆ ไม่สามารถนำคนทั้งมหาวิทยาลัยมาเข้าร่วมได้ คนส่วนใหญ่ในสังคม
มหาวิทยาลัยที่ไม่ได้เข้าร่วม ก็ยังคงมีทัศนคติเดิมต่อไป เพราะฉะนั้นความขัดแย้งของ
ปัญหานี้ก็ยังคงดำเนินต่อไปเรื่อยๆ


· ผลกระทบต่อนิสิตในมหาวิทยาลัย
             ทำให้นิสิตสูญเสียทรัพย์สินส่วนตัว ที่ผู้ปกครองซื้อให้

             ทำให้นิสิตขาดความเชื่อมั่นในการบริหารและการรักษาความปลอดภัย ใน
มหาวิทยาลัย
             นิสิตไม่มีสิทธิเรียกร้องให้ทางมหาวิทยาลัยรับผิดชอบต่อปัญหานี้ได้ ทำได้แค่
เรียกร้องให้ทางมหาวิทยาลัยหาแนวทางในการป้องกันเท่านั้น

· ผลกระทบต่อมหาวิทยาลัย
             ภาพลักษณ์ของทางมหาวิทยาลัย ที่จะถูกมองว่าเป็นแหล่งรวมแห่งการ

โจรกรรมรถจักรยานยนต์
             ระบบรักษาความปลอดภัยจะถูกตั้งขอสงสัยจากนิสิตและบุคคลภายนอกเกี่ยว
กับระบบการรักษาความปลอดภัยว่าได้มาตรฐานหรือไม่ ?
             นิสิตมีการตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับการมีสายโจรในกลุ่มผู้รักษาความปลอดภัยใน
มหาวิทยาลัยหรือไม่ ซึ่งจะส่งผลให้มหาวิทยาลัยถูกมองในด้านลบ
             มหาวิทยาลัยถูกมองว่าละเลยต่อปัญหา เพราะทุกวันนี้ปัญหารถจักรยานยนต์ใน
มหาวิทยาลัยหาย ยังคงเพิ่มทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ
 

แนวทางการแก้ไขปัญหาและข้อเสนอแนะ

· สำหรับตัวนิสิต
             1. นิสิตต้องรักและหวงแหนในทรัพย์ของตนเองก่อน ต้องรู้จักรอบคอบ มีการ
ตรวจเช็คก่อนจะลงจากรถว่าลืมกุญแจไว้ที่รถหรือไม่ และไม่เพียงเท่านั้นการล็อกรถแค่
คอเท่านั้นไม่สามารถป้องกันความปลอดภัยได้ 100% เมื่อจอดรถทิ้งไว้ยังสถานที่ต่างๆ
นิสิตควรจัดหาอุปกรณ์ ล็อครถเพิ่มเติมไม่ว่าจะเป็นการใช้แม่กุญแจล็อกขาตั้งรถ ใช้
อุปกรณ์ล็อกโช๊ค ล็อกเบรก หรือการล็อคที่อื่นๆ นอกจากจะเป็นการป้องกันรถหายได้
แล้วยังทำให้รู้สึกสบายใจทุกครั้งที่จอดรถ ทิ้งไว้และเป็นการป้องกันทรัพย์สินรถ
จักรยานยนต์ของตนเองก่อนเบื้องต้น

             2. การจอดรถไว้ในสถานที่ที่มีผู้คนพลุกพล่านเพื่อป้องกันการขโมยของ
มิจฉาชีพและที่ที่มี รปภ. ตรวจตราเสมอ อย่างน้อยก็เพิ่มความปลอดภัยในระดับหนึ่ง

            3. เมื่อเจ้าของรถเข้าไปใช้บริการในร้านซ่อมรถ หรือความสะอาดรถ เรามักให้
กุญแจรถไว้กับพนักงานโดยไม่สนใจดูแล เพราะถ้าพนักงานคนดังกล่าวเป็นมิจฉาชีพก็
สามารถปั๊มกุญแจรถได้ทันที ซึ่งเจ้าของรถไม่ควรละเลยในส่วนนี้ไปเพื่อความปลอดภัย
ของรถท่านเอง


· สำหรับมหาวิทยาลัย


             ระบบของหน่วยรักษาความปลอดภัยในมหาวิทยาลัยที่ต้องปฎิบัติหน้าที่
อย่างเคร่งครัด
                  เจ้าหน้าที่ต้องรู้จักหน้าที่ของตนเอง ต้องมีการเดินตรวจตราสม่ำเสมอ ไม่
หลับในเวลางาน ฯลฯ
                  กล้องวงจรปิด การจัดจำนวนให้มีปริมาณเพียงพอกับสถานที่และจุดเสี่ยง
อันตราย และในเรื่องของคุณภาพของตัวกล้องเองที่ต้องมีความชัดเจน สามารถเห็น
รูปพรรณสัณฐานของผู้ร้ายได้
                  การตรวจสอบประวัติผู้ที่จะเข้ามาเป็นหน่วยรักษาความปลอดภัยว่ามีความ
เหมาะสมและไม่เสี่ยงต่อการเป็นสายของโจรแนวทางการแก้ไขปัญหาและข้อเสนอแนะ








ร่วมสร้างสังคมเป็นสุขในโครงการ “เยาวชนไทยหัวใจสีขาว”



WORKGRO▼P


 หลักการและเหตุผล

             ปัจจุบันสังคมไทยกำลังประสบปัญหาวิกฤต จากสถานการณ์ปัญหายาเสพติดที่ได้เริ่มแพร่ระบาดและกำลังทวีความรุนแรงมากขึ้นอย่างน่าวิตก การหวนกลับมาระบาดอย่างหนักของยาเสพติดในปัจจุบันเป็นผลให้เยาวชนหลงผิดเข้าสู่วงจรของการซื้อขายและเสพยาเสพติดเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาประเทศ และเป็นการทำลายทรัพยากรบุคคลซึ่งเป็นอนาคตและเป็นพลังในการพัฒนาประเทศให้ด้อยคุณภาพ อันจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ และเป็นภาระงบประมาณของประเทศในการบำบัดรักษาผู้ป่วยที่เกิดจากการเสพยาเสพติด อีกทั้งยังเป็นปัญหาที่สร้างความรู้สึกสะเทือนใจและเจ็บปวดให้กับพ่อแม่ผู้ปกครอง และปัญหายาเสพติดได้นำมาซึ่งความรุนแรงในครอบครัวและอาชญากรรมต่างๆในสังคม เช่น การลักขโมย ฉกชิงวิ่งราวและการก่อปัญหาอาชญากรรมอื่นๆตามมาอีกมากมาย ซึ่งทำให้มีผลกระทบต่อสังคมโดยรวมซึ่งปัจจุบันนี้ เยาวชน และโรงเรียน เป็นยุทธศาสตร์ที่รัฐบาลให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นรากฐานและเป็นทรัพยากรที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ กลุ่มคนที่เสี่ยงต่อปัญหายาเสพติดก็คือ กลุ่มเด็กที่อาจมีสาเหตุมาจากปัญหาภายในครอบครัว ปัญหาทางด้านจิตใจ เด็กขาดความอบอุ่น และสภาพแวดล้อมรอบๆตัวเด็ก ก็เป็นอีกสาเหตุที่สำคัญที่จะให้เด็กหันไปใช้ยาเสพติด



              ดังนั้น กลุ่มผู้จัดทำโครงการจึงตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว และเห็นว่าทุกภาคส่วนของสังคมควรมีบทบาทในการแก้ปัญหาร่วมกัน การปล่อยให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือหน่วยงานภาครัฐรับผิดชอบเพียงฝ่ายเดียวไม่เพียงพอ และจะทำให้ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นเพื่อเป็นการช่วยเหลือสังคมอีกทางหนึ่งผู้จัดทำโครงการจึงได้จัดทำ โครงการ “ เยาวชนไทยหัวใจสีขาว” ขึ้น เพื่อเป็นการลงพื้นที่สัมผัสกับปัญหายาเสพติดที่กำลังเป็นปัญหาสำคัญอยู่ในขณะนี้ เรียนรู้การทำงานของเจ้าหน้าที่ของภาครัฐแต่ละหน่วยงานที่ เกี่ยวกับปัญหายาเสพติด ร่วมรณรงค์ป้องกันและต่อต้านยาเสพติด ช่วยให้ข่าวสารและให้ความรู้ที่ถูกต้องต่อเยาวชนเกี่ยวกับภัยของยาเสพติด



 วัตถุประสงค์ของโครงการ               

             1. เพื่อศึกษาการทำงานของโรงเรียนวิวัฒน์พลเมืองในการทำงานร่วมกับหน่วย
                 งานทางภาครัฐและหน่วยงานอื่นที่ร่วมแก้ไขปัญหายาเสพติดตลอดจน
                 ศึกษาการบำบัดฟื้นฟูและการ เตรียมตัวกลับคืนสู่สังคม
             2. เรียนรู้การทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการแก้ไขปัญหายาเสพติดที่ทำร่วม
                 กับคนในชุมชน ศึกษาการจำแนกเยาวชนตามกรณีการกระทำผิดเกี่ยวกับยา
                 เสพติดและศึกษาข้อมูลเชิงสถิติเกี่ยวกับคดียาเสพติด
             3. เพื่อให้นิสิตได้เรียนรู้ถึงการวิเคราะห์สังเคราะห์เกี่ยวกับปัญหายาเสพติดใน
                 ชุมชนและสังคมที่ศึกษา พร้อมทั้งร่วมกันอภิปรายเพื่อหาแนวทางการแก้ไข
                 เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการเริ่มต้นพัฒนานโยบาย/มาตรการการแก้ปัญหายา
                 เสพติดในสังคมได้อย่างตรงจุด
             4. เพื่อพัฒนาแนวทางการป้องกันแก้ไขปัญหาสารเสพติดที่ยั่งยืนในชุมชน
             5. เพื่อรู้จักการประสานงานและเรียนรู้การทำงานกับหน่วยงานบริการสังคมของ
                 ทางภาครัฐ
             6. เพื่อสร้างจิตอาสาในการบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม



 เป้าหมาย

             -  เรียนรู้การทำงานของมูลนิธิกับคนในชุมชนเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหายาเสพติด
             และจัดกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดแก่เด็กและเยาวชน          
          -  เรียนรู้การทำงานของโรงเรียนวิวัฒน์พลเมืองในการแก้ไขปัญหายาเสพติด
             และ ศึกษาข้อมูลเชิงสถิติเกี่ยวกับเด็กที่ติดยาเสพติด จากโรงเรียนวิวัฒน์
             พลเมืองกองทัพเรือแบบพิเศษ ฐานทัพเรือสัตหีบ จ.ชลบุรี
          -  เรียนรู้การทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการแก้ไขปัญหายาเสพติดที่ทำร่วมกับ
             คนในชุมชน และศึกษาข้อมูลเชิงสถิติเกี่ยวกับคดียาเสพติด จากสถานีตำรวจ
             ภูธรแสนสุข


 ขั้นตอนการทำงาน

             1. ปรึกษาและขอคำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องของปัญหากับอาจารย์ผู้สอน
             2. ประชุมงานกันในกลุ่มสมาชิกผู้ร่วมโครงการ
             3. สำรวจหน่วยงานบริการทางสังคม หรือหน่วยงานของภาครัฐที่จะไปศึกษา
                 การทำงาน
             4. แบ่งกลุ่มออกเป็นกลุ่มย่อย และแบ่งงานให้แต่ละกลุ่มไปค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับ
                 งานของกลุ่มตนเอง
             5. ศึกษาข้อมูลจากโครงการอื่นๆที่ทำโครงการในลักษณะเดียวกัน เพื่อเป็นแนว
                 ทางในการทำโครงการของกลุ่ม
             6. รวบรวมข้อมูลจากการศึกษางาน จากกลุ่มย่อยทั้งหมด
             7. เข้าปรึกษาและขอคำแนะนำจากอาจารย์ผู้สอนประจำรายวิชา
             8. ประชุมกลุ่ม เพื่อเตรียมอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานและเตรียมตัวออกไปศึกษา
                 การทำงานของหน่วยงานบริการทางสังคมและหน่วยงานของรัฐบาลที่เกี่ยว
                 ข้องกับปัญหา เก็บข้อมูล มาใช้ในการเขียนโครงการ
             9. ลงมือปฏิบัติงานตามแผนการที่วางไว้
           10. ประเมินผลการปฏิบัติงาน




 วิธีการดำเนินงาน

             แบ่งออกเป็น 2 สถานที่ที่จะปฏิบัติภาคสนาม

         1. โรงเรียนวิวัฒน์พลเมืองกองทัพเรือแบบพิเศษ ฐานทัพเรือสัตหีบ จ.ชลบุรี เรียน
             รู้การทำงานของโรงเรียนวิวัฒน์พลเมืองในการทำงานร่วมกับหน่วยงานของทาง
             ภาครัฐหน่วยงานอื่นๆ ที่ร่วมแก้ไขปัญหายาเสพติด
         2. สถานีตำรวจภูธรแสนสุข ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี เรียนรู้การทำงานของเจ้า
             หน้าที่ตำรวจในการแก้ไขปัญหายาเสพติดที่ทำร่วมกับคนในชุมชน




 สถานที่ดำเนินการ


          - โรงเรียนวิวัฒน์พลเมืองกองทัพเรือ แบบพิเศษ ฐานทัพเรือสัตหีบ
            2040 ม.1 ถ.หลักชัยชนะ ต.สัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี 20180


          - สถานีตำรวจภูธรแสนสุข
            ตั้งอยู่เลขที่ 9 ถ.บางแสนสาย 2 ต.แสนสุข อ.เมือง ชลบุรี






 ระยะเวลาในการดำเนินงาน


             วันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2554 - 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554





 ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำโครงการ


             1.นิสิตได้เรียนรู้ถึงการวิเคราะห์สังเคราะห์เกี่ยวกับปัญหายาเสพติดในชุมชน
                และสังคมที่ศึกษา พร้อมทั้งร่วมกันอภิปรายเพื่อหาแนวทางการแก้ไข เพื่อ
                เป็นประโยชน์ต่อการเริ่มต้นพัฒนานโยบาย/มาตรการการแก้ปัญหายาเสพติด
                ในสังคมได้อย่างตรงจุด
             2.ได้ทราบแนวทางการป้องกันแก้ไขปัญหาสารเสพติดที่ยั่งยืนในชุมชน
             3.ทำให้ได้เรียนรู้ประสบการณ์วิชาชีพครูในการให้ความรู้เรื่องยาเสพติดแก่
                เด็กและเยาวชน
             4.ทำให้ได้เรียนรู้การประสานงานและเรียนรู้การทำงานกับหน่วยงานบริการ
                สังคมของทางภาครัฐ
             5.ทำให้นิสิตได้สร้างจิตอาสาในการบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม







ภาพตัวอย่างกิจกรรม

โครงการ “เยาวชนไทยหัวใจสีขาว




สถานีตำรวจภูธรแสนสุข











โรงเรียนวิวัฒน์พลเมืองกองทัพเรือแบบพิเศษ
ฐานทัพเรือสัตหีบ












ภาพตัวอย่างเอกสารจัดบอร์ดนิทรรศการ

โครงการ “เยาวชนไทยหัวใจสีขาว







12.22.2553

รายงานกลุ่ม.มุมมองและทัศนะต่อปัญหาครอบครัวในสังคมไทย

WORKGROP






ปัญหาครอบครัวในสังคมไทย

ครอบครัวที่เคยเหนียวแน่นในอดีตปัจจุบันเริ่มเปราะบางลง 
มีปัญหามากมายตามมา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการอย่าร้าง  การทอดทิ้งผู้สูงอายุ  
การทำแท้ง และอื่นๆอีกมากมาย  หรือแม้กระทั่งการใช้ความรุนแรงในครอบครัว 
เราสังเกตได้จากกฎหมายซึ่งเป็นตัวรองรับเพื่อป้องกัน  แก้ไขและปรามให้สังคมมีความสงบสุข
อันจะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสังคมเพื่อแก้ไขปัญหาที่แตกต่างกันตามยุคสมัยนั้นๆ 
ซี่งกฎหมายครอบครัวในปัจจุบันนั้น  มีลักษณะเป็นกฎหมายตั้งรับ
ที่ครอบคลุมเรื่องของหมั้น  การสมรส  การหย่า  ทรัพย์สินระหว่างสามี-ภรรยา  บุตรนอกสมรส 
บุตรบุญธรรม  และมรดก ของครอบครัวในทุกระดับ
สิ่งเหล่านี้เราปฏิเสธไม่ได้ว่าถูกเขียนขึ้นเพื่อรองรับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในครอบครัวทั้งสิ้น


ความหมายของ"ปัญหาครอบครัว"



ปัญหาครอบครัว หมายถึง ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในครอบครัว 
ได้แก่ปัญหาระหว่างสามีภรรยา ความขัดแย้งระหว่างพ่อกับแม่ พี่กับน้อง  พ่อกับลูกหรือแม่กับลูก  ปัญหาการติดต่อสื่อสารระหว่างสมาชิกภายในครอบครัว  ปัญหาความสัมพันธ์  ความไม่เข้าใจกัน 

 สาเหตุของปัญหาครอบครัว

- ความไม่พร้อมและไม่ได้เตรียมตัวที่จะเป็นครอบครัว
- สภาพเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน

“ทั้งนี้เห็นได้ว่าปัญหาครอบครัวนั้น
มีสาเหตุมาจากคนในครอบครัวเองเป็นสำคัญ”

ผลกระทบจากปัญหาครอบครัว  ส่งผลหลายด้าน เช่น

                       ผลเสียต่อสภาพร่างกายและจิตใจของคู่สามีหรือภรรยา เช่น อาจมีการทำร้าย ทุบตีสมรรถภาพการทำงานลดลง ขาดความรัก ความอบอุ่น ขาดความรับผิดชอบ  และอาจส่งผลเสีย
ทั้งร่างกายจิตใจแก่ลูกหลาน เช่น อาจถูกทำร้าย ทุบตี ถูกทอดทิ้ง ขาดความเชื่อมั่น  ความว้าเหว่ พฤติกรรมเบี่ยงเบน

ดังนั้น ครอบครัวทุกครอบครัวจึงควรมีความรักต่อกัน
เอาใจใส่ซึ่งกันและกัน เห็นใจกัน มีความเอื้อเฟื้อต่อกัน
สังคมไม่ตระหนักในความสำคัญของครอบครัวว่าครอบครัวมีผลกระทบต่อสังคมส่วนรวม
สื่อมวลชนเป็นสถาบันสังคมที่มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อครอบครัวและสมาชิกของสังคม



แนวทางการแก้ไขปัญหาครอบครัว

การแก้ไขปัญหาครอบครัว สามารถให้การรักษาได้หลายระดับ 
ตั้งแต่การให้คำปรึกษาครอบครัว  ไปจนถึงการรักษาแบบครอบครัวบำบัด 
ซึ่งมีหลักการรักษา คือ สมาชิกครอบครัวทุกคนมีส่วนร่วมในการเข้าใจปัญหา  หาทางคลี่คลายหรือแก้ไขปัญหาร่วมกัน ช่วยกันปรับเปลี่ยนตนเอง โดยไม่ต้องรอให้อีกฝ่ายหนึ่งแก้ไขก่อน

- การรักษาวิธีนี้ แพทย์จะไม่ค้นหาตัวปัญหา หรือ คนผิด ไม่ตัดสินว่าใครผิดถูก 
การช่วยกันปรับความสัมพันธ์ระหว่างกัน การวางตัวต่อกัน เพื่อให้เกิดความเข้าใจกัน
บนพื้นฐานของความรัก ความอบอุ่นความห่วงใย ความปรารถนาดีต่อกัน

- ในกรณีที่ความขัดแย้งมีสะสมมานาน  การรักษาจะไม่ขุดคุ้ยความขัดแย้งเก่าๆขึ้นมาอีก 
แต่จะวิเคราะห์เฉพาะปัญหาในปัจจุบัน หากลยุทธ์ หรือวิธีการใหม่ๆ
เพื่อคลี่คลายปัญหาหรือความขัดแย้ง สร้างคุณภาพชีวิตครอบครัวเพื่อให้ทุกคนมีความสุข
สำหรับการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการแก้ปัญหาครอบครัวนั้น
สามารถแบ่งออกได้หลายระดับ เช่น

ระดับนิสิต/นักศึกษา
ระดับภาครัฐ
ระดับภาคเอกชน
ระดับประชาชนทั่วไป


             ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 เองก็มีการเริ่มกำหนดมาตรการ
เสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันครอบครัว  สนับสนุนความร่วมมือระหว่างครอบครัว  โรงเรียน  ชุมชน  ให้เกิดความตระหนักต่อปัญหา  การจัดการกับปัญหา  การเปิดศูนย์ให้ความช่วยเหลือด้านคำปรึกษาปัญหาสังคม  กฎหมาย  การงานอาชีพ  รัฐบาลได้ประกาศให้ปี พ.ศ.2537
เป็นปีครอบครัวสากล  และนอกจากนั้นได้จัดทำนโยบายที่มุ่งเน้นการพัฒนาครอบครัว
ที่เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
              สำหรับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9ได้กำหนดวัตถุประสงค์
และเป้าหมายหลักที่มุ่งฟื้นฟูเศรษฐกิจให้ขยายตัวอย่างมีคุณภาพและมีเสถียรภาพ 
มีภูมิคุ้มกันสามารถเพิ่งตนเองได้มากขึ้น  เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน 
สร้างการมีงานทำและสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนส่วนใหญ่  ควบคู่ไปกับการวางรากฐาน
การพัฒนาที่แข็งแกร่ง  โดยการพัฒนาคน  ครอบครัว  และชุมชนให้เข้มแข็ง
เป็นแกนหลักของสังคมไทย  อันจะนำไปสู่เป้าหมายสุดท้ายในการแก้ไขปัญหาความยากจน 
เพิ่มศักยภาพและโอกาสของคนไทยในการเพิ่งตนเองและเสริมสร้างความอยู่ดีมีสุข
ของคนไทยอย่างยั่งยืน


สรุปเนื้อหาจากการนำเสนอและร่วมกันอภิปราย
เรื่อง“ปัญหาครอบครัว”

               อนึ่งความสำคัญของการมีครอบครัวที่สมบูรณ์  และจะสามารถปรับตัวให้เข้ากับ
สภาพสังคมได้นั้น  สิ่งสำคัญที่จะป้องกันและปกป้องครอบครัวได้นั้นก็คือ การวางแผนการมีครอบครัว  เราควรมีการวางแผนชีวิตครอบครัว  ไว้ล่วงหน้าก่อนที่จะมีครอบครัว  
อาทิ   ตั้งเป้าหมายว่าจะแต่งงานตอนอายุเท่าไหร่   มีบุตรกี่คน มีในช่วงเวลาไหนจะเหมาะสม 
อายุควรห่างกันเท่าไหร่   ฯลฯ เช่นนี้ก็จะช่วยในเรื่องของเศรษฐกิจในครอบครัวได้เป็นอย่าดีทำให้เรารู้ว่าจะต้องใช่จ่ายในครอบครัวยังไง  ทำให้มีเวลาดูแลบุตร   และทำหน้าที่ของตนในครอบครัวได้ออย่างสมบูรณ์ 
               นอกจากนี้แล้วภาครัฐมีส่วนสำคัญยิ่งในการช่วยสนับสนุน  มีนโยบายเสริมสร้างความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวให้มากขึ้น   สนับสนุนให้คนในครอบครัวทำกิจกรรมร่วมกัน  การพูดคุย  ปรับความเข้าใจเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้รักยาวนานและความผูกพันของครอบครัวแน่นแฟ้นขึ้น  
ครอบครัวแม้จะเป็นหน่วยเล็กที่สุดของสังคมแต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นของสังคมขนาดใหญ่  และถือได้ว่าเป็นสายป่านสำคัญของสังคมไทย  ปัญหาที่เกิดขึ้นในครอบครัวจะเป็นห่วงโซ่ส่งผลต่อสังคมที่รัฐจะละเลยเสียไม่ได้

               สรุปแล้วสำหรับหนทางที่ถูกต้องในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในครอบครัว คือ การสื่อสาร เพราะการสื่อสารทำให้ครอบครัวมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่การสื่อสารที่ดีย่อมต้องอาศัยทักษะและความสามารถที่ดี เช่น การเข้าใจความรู้สึกของอีกฝ่าย การฟังผู้อื่น การพูดจาประคับประคองอีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว


ในทางกลับกัน การพูดจาตำหนิติเตียน หรือทำให้เกิดความรู้สึกในเชิงลบ
จะยิ่งทำให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้สึกโกรธ เสียใจ ตึงเครียด ขัดแย้ง และนำมาซึ่งความรุนแรงในครอบครัว
ทั้งในด้านท่าที วาจา และการกระทำที่รุนแรงกับบุคคลอื่นในที่สุด



“ดังนั้นการสร้างความรักและความอบอุ่นในครอบครัว
จะเป็นเสมือนภูมิคุ้มกันให้ครอบครัวหลีกหนี
และห่างไกลจากความรุนแรง และจะเป็นพื้นฐานที่ดี
สำหรับการสร้างความมั่นคงให้กับสังคมในที่สุด”


ขอขอบคุณข้อมูลจาก

- กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
- สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน เล่ม 22
- เว็บไซต์มหาวิทยาลัยพายัพ - หนังสือ “สร้างครอบครัวอบอุ่น...สร้างภูมิคุ้มกันให้ครอบครัว”  นิตยสารหมอชาวบ้าน  เล่มที่: 319 | เดือน/ปี: 11/2005 โดย รศ.นพ.รณชัย คงสกนธ์