12.22.2553

รายงานกลุ่ม.มุมมองและทัศนะต่อปัญหาครอบครัวในสังคมไทย

WORKGROP






ปัญหาครอบครัวในสังคมไทย

ครอบครัวที่เคยเหนียวแน่นในอดีตปัจจุบันเริ่มเปราะบางลง 
มีปัญหามากมายตามมา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการอย่าร้าง  การทอดทิ้งผู้สูงอายุ  
การทำแท้ง และอื่นๆอีกมากมาย  หรือแม้กระทั่งการใช้ความรุนแรงในครอบครัว 
เราสังเกตได้จากกฎหมายซึ่งเป็นตัวรองรับเพื่อป้องกัน  แก้ไขและปรามให้สังคมมีความสงบสุข
อันจะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสังคมเพื่อแก้ไขปัญหาที่แตกต่างกันตามยุคสมัยนั้นๆ 
ซี่งกฎหมายครอบครัวในปัจจุบันนั้น  มีลักษณะเป็นกฎหมายตั้งรับ
ที่ครอบคลุมเรื่องของหมั้น  การสมรส  การหย่า  ทรัพย์สินระหว่างสามี-ภรรยา  บุตรนอกสมรส 
บุตรบุญธรรม  และมรดก ของครอบครัวในทุกระดับ
สิ่งเหล่านี้เราปฏิเสธไม่ได้ว่าถูกเขียนขึ้นเพื่อรองรับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในครอบครัวทั้งสิ้น


ความหมายของ"ปัญหาครอบครัว"



ปัญหาครอบครัว หมายถึง ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในครอบครัว 
ได้แก่ปัญหาระหว่างสามีภรรยา ความขัดแย้งระหว่างพ่อกับแม่ พี่กับน้อง  พ่อกับลูกหรือแม่กับลูก  ปัญหาการติดต่อสื่อสารระหว่างสมาชิกภายในครอบครัว  ปัญหาความสัมพันธ์  ความไม่เข้าใจกัน 

 สาเหตุของปัญหาครอบครัว

- ความไม่พร้อมและไม่ได้เตรียมตัวที่จะเป็นครอบครัว
- สภาพเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน

“ทั้งนี้เห็นได้ว่าปัญหาครอบครัวนั้น
มีสาเหตุมาจากคนในครอบครัวเองเป็นสำคัญ”

ผลกระทบจากปัญหาครอบครัว  ส่งผลหลายด้าน เช่น

                       ผลเสียต่อสภาพร่างกายและจิตใจของคู่สามีหรือภรรยา เช่น อาจมีการทำร้าย ทุบตีสมรรถภาพการทำงานลดลง ขาดความรัก ความอบอุ่น ขาดความรับผิดชอบ  และอาจส่งผลเสีย
ทั้งร่างกายจิตใจแก่ลูกหลาน เช่น อาจถูกทำร้าย ทุบตี ถูกทอดทิ้ง ขาดความเชื่อมั่น  ความว้าเหว่ พฤติกรรมเบี่ยงเบน

ดังนั้น ครอบครัวทุกครอบครัวจึงควรมีความรักต่อกัน
เอาใจใส่ซึ่งกันและกัน เห็นใจกัน มีความเอื้อเฟื้อต่อกัน
สังคมไม่ตระหนักในความสำคัญของครอบครัวว่าครอบครัวมีผลกระทบต่อสังคมส่วนรวม
สื่อมวลชนเป็นสถาบันสังคมที่มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อครอบครัวและสมาชิกของสังคม



แนวทางการแก้ไขปัญหาครอบครัว

การแก้ไขปัญหาครอบครัว สามารถให้การรักษาได้หลายระดับ 
ตั้งแต่การให้คำปรึกษาครอบครัว  ไปจนถึงการรักษาแบบครอบครัวบำบัด 
ซึ่งมีหลักการรักษา คือ สมาชิกครอบครัวทุกคนมีส่วนร่วมในการเข้าใจปัญหา  หาทางคลี่คลายหรือแก้ไขปัญหาร่วมกัน ช่วยกันปรับเปลี่ยนตนเอง โดยไม่ต้องรอให้อีกฝ่ายหนึ่งแก้ไขก่อน

- การรักษาวิธีนี้ แพทย์จะไม่ค้นหาตัวปัญหา หรือ คนผิด ไม่ตัดสินว่าใครผิดถูก 
การช่วยกันปรับความสัมพันธ์ระหว่างกัน การวางตัวต่อกัน เพื่อให้เกิดความเข้าใจกัน
บนพื้นฐานของความรัก ความอบอุ่นความห่วงใย ความปรารถนาดีต่อกัน

- ในกรณีที่ความขัดแย้งมีสะสมมานาน  การรักษาจะไม่ขุดคุ้ยความขัดแย้งเก่าๆขึ้นมาอีก 
แต่จะวิเคราะห์เฉพาะปัญหาในปัจจุบัน หากลยุทธ์ หรือวิธีการใหม่ๆ
เพื่อคลี่คลายปัญหาหรือความขัดแย้ง สร้างคุณภาพชีวิตครอบครัวเพื่อให้ทุกคนมีความสุข
สำหรับการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการแก้ปัญหาครอบครัวนั้น
สามารถแบ่งออกได้หลายระดับ เช่น

ระดับนิสิต/นักศึกษา
ระดับภาครัฐ
ระดับภาคเอกชน
ระดับประชาชนทั่วไป


             ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 เองก็มีการเริ่มกำหนดมาตรการ
เสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันครอบครัว  สนับสนุนความร่วมมือระหว่างครอบครัว  โรงเรียน  ชุมชน  ให้เกิดความตระหนักต่อปัญหา  การจัดการกับปัญหา  การเปิดศูนย์ให้ความช่วยเหลือด้านคำปรึกษาปัญหาสังคม  กฎหมาย  การงานอาชีพ  รัฐบาลได้ประกาศให้ปี พ.ศ.2537
เป็นปีครอบครัวสากล  และนอกจากนั้นได้จัดทำนโยบายที่มุ่งเน้นการพัฒนาครอบครัว
ที่เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
              สำหรับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9ได้กำหนดวัตถุประสงค์
และเป้าหมายหลักที่มุ่งฟื้นฟูเศรษฐกิจให้ขยายตัวอย่างมีคุณภาพและมีเสถียรภาพ 
มีภูมิคุ้มกันสามารถเพิ่งตนเองได้มากขึ้น  เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน 
สร้างการมีงานทำและสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนส่วนใหญ่  ควบคู่ไปกับการวางรากฐาน
การพัฒนาที่แข็งแกร่ง  โดยการพัฒนาคน  ครอบครัว  และชุมชนให้เข้มแข็ง
เป็นแกนหลักของสังคมไทย  อันจะนำไปสู่เป้าหมายสุดท้ายในการแก้ไขปัญหาความยากจน 
เพิ่มศักยภาพและโอกาสของคนไทยในการเพิ่งตนเองและเสริมสร้างความอยู่ดีมีสุข
ของคนไทยอย่างยั่งยืน


สรุปเนื้อหาจากการนำเสนอและร่วมกันอภิปราย
เรื่อง“ปัญหาครอบครัว”

               อนึ่งความสำคัญของการมีครอบครัวที่สมบูรณ์  และจะสามารถปรับตัวให้เข้ากับ
สภาพสังคมได้นั้น  สิ่งสำคัญที่จะป้องกันและปกป้องครอบครัวได้นั้นก็คือ การวางแผนการมีครอบครัว  เราควรมีการวางแผนชีวิตครอบครัว  ไว้ล่วงหน้าก่อนที่จะมีครอบครัว  
อาทิ   ตั้งเป้าหมายว่าจะแต่งงานตอนอายุเท่าไหร่   มีบุตรกี่คน มีในช่วงเวลาไหนจะเหมาะสม 
อายุควรห่างกันเท่าไหร่   ฯลฯ เช่นนี้ก็จะช่วยในเรื่องของเศรษฐกิจในครอบครัวได้เป็นอย่าดีทำให้เรารู้ว่าจะต้องใช่จ่ายในครอบครัวยังไง  ทำให้มีเวลาดูแลบุตร   และทำหน้าที่ของตนในครอบครัวได้ออย่างสมบูรณ์ 
               นอกจากนี้แล้วภาครัฐมีส่วนสำคัญยิ่งในการช่วยสนับสนุน  มีนโยบายเสริมสร้างความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวให้มากขึ้น   สนับสนุนให้คนในครอบครัวทำกิจกรรมร่วมกัน  การพูดคุย  ปรับความเข้าใจเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้รักยาวนานและความผูกพันของครอบครัวแน่นแฟ้นขึ้น  
ครอบครัวแม้จะเป็นหน่วยเล็กที่สุดของสังคมแต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นของสังคมขนาดใหญ่  และถือได้ว่าเป็นสายป่านสำคัญของสังคมไทย  ปัญหาที่เกิดขึ้นในครอบครัวจะเป็นห่วงโซ่ส่งผลต่อสังคมที่รัฐจะละเลยเสียไม่ได้

               สรุปแล้วสำหรับหนทางที่ถูกต้องในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในครอบครัว คือ การสื่อสาร เพราะการสื่อสารทำให้ครอบครัวมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่การสื่อสารที่ดีย่อมต้องอาศัยทักษะและความสามารถที่ดี เช่น การเข้าใจความรู้สึกของอีกฝ่าย การฟังผู้อื่น การพูดจาประคับประคองอีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว


ในทางกลับกัน การพูดจาตำหนิติเตียน หรือทำให้เกิดความรู้สึกในเชิงลบ
จะยิ่งทำให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้สึกโกรธ เสียใจ ตึงเครียด ขัดแย้ง และนำมาซึ่งความรุนแรงในครอบครัว
ทั้งในด้านท่าที วาจา และการกระทำที่รุนแรงกับบุคคลอื่นในที่สุด



“ดังนั้นการสร้างความรักและความอบอุ่นในครอบครัว
จะเป็นเสมือนภูมิคุ้มกันให้ครอบครัวหลีกหนี
และห่างไกลจากความรุนแรง และจะเป็นพื้นฐานที่ดี
สำหรับการสร้างความมั่นคงให้กับสังคมในที่สุด”


ขอขอบคุณข้อมูลจาก

- กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
- สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน เล่ม 22
- เว็บไซต์มหาวิทยาลัยพายัพ - หนังสือ “สร้างครอบครัวอบอุ่น...สร้างภูมิคุ้มกันให้ครอบครัว”  นิตยสารหมอชาวบ้าน  เล่มที่: 319 | เดือน/ปี: 11/2005 โดย รศ.นพ.รณชัย คงสกนธ์



12.20.2553

Tokyo Sonata, สารคดีชีวิตครอบครัว...บนโลกแห่งความจริง

GOOD MOVIE 


Tokyo Sonata

อีกหนึ่งภาพยนตร์สะท้อนปัญหาสังคมที่ดีที่สุดในรอบปี.....จริงหรือ?
............................................


ร่วมพิสูจน์ภาพสะท้อนปัญหาสังคมบทใหม่ไปด้วยกันกับ
"สิ่งเล็ก ๆ ที่เรียกว่า...ครอบครัว"


 
เรื่องย่อ

ในเมืองโตเกียว ริวเฮย์ หรือ พ่อ (เทรุยุกิ คางาวะ) ก็เหมือนนักธุรกิจชาวญี่ปุ่นทั่วๆ ไป
เขาต้องเดินทางไปทำงานด้วยรถไฟที่แออัดทุกๆ วัน ออกจากบ้านแต่เช้ากว่าจะกลับก็ค่ำ
วิถีชีวิตเช่นนี้ทำให้เขาไม่สนิทสนมกับลูกชายทั้งสองที่ชื่อ ทากะ (ยู โคยานางิ) และ เคนจิ (อิโนวากิ ไค)
วันหนึ่ง พ่อถูกปลดจากงานอย่างไม่ทันตั้งตัว เขาตัดสินใจไม่บอกเรื่องนี้กับ เมงุมิ (เคียวโกะ โคอิซูมิ)
ภรรยาของเขาและแม่ของลูกๆ พ่อยังคงทำเหมือนออกไปทำงานทุกวันเช่นเดิม
แต่จริงๆ แล้ว เขาไปแกร่วฆ่าเวลาอยู่ที่ห้างสรรพสินค้าและสวนสาธารณะ
ขณะเดียวกัน เคนจิวัย 11 ปี ก็ถูกนักเรียนอื่นรังแกและรีดไถเงิน
นอกจากนี้ เคนจิยังแอบเอาเงินค่าเรียนคาราเต้ ไปจ่ายค่าเรียนเปียโนแทน
เพราะเขารักการเล่นเปียโนมาก ขณะที่พ่อคิดว่าเปียโนเหมาะสำหรับผู้หญิงเท่านั้น
ทุกๆ เช้า ขณะรับประทานอาหารร่วมกัน พ่อและเคนจิต่างก็พูดโกหกกับแม่
เพื่อรักษาความลับของตนเอาไว้ ในที่สุดพ่อก็ต้องยอมรับงานเป็นภารโรงอยู่ที่ห้างสรรพสินค้าใกล้โรงเรียนของเคนจิ เขายังคงปิดบังเรื่องนี้กับแม่ และออกไปทำงานทุกเช้า
และกลับบ้านตอนค่ำด้วยชุดสูทของนักธุรกิจ
ขณะนั้น แม่เริ่มเอะใจว่าเคนจิไม่ได้เรียนคาราเต้ เพราะชุดฝึกคาราเต้ของเขาไม่สกปรกเลยสักนิด
วันหนึ่ง หลังเสร็จจากงานภารโรง พ่อตามเคนจิไปที่โรงเรียน และค้นพบความจริง
เขาโกรธลูกมากจนสั่งห้ามไม่ให้เคนจิเรียนทั้งคาราเต้และเปียโนอีกต่อไป
ทว่าเวลาต่อมา พ่อกลับถูกสถานการณ์บังคับให้เผยความลับของตนเสียเอง
เพราะเขามาพบเคนจิที่กำลังโดนเด็กเกเรรีดไถเงิน และมีเพียงพ่อเท่านั้นที่จะช่วยปกป้องเคนจิได้

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากภาพยนตร์

Tokyo Sonata ถือเป็นตัวแทนของภาพยนตร์สะท้อนปัญหาสังคมได้อย่างดี
ในเรื่องได้ถ่ายทอดเรื่องราวของครอบครัวญี่ปุ่นธรรมดาครอบครัวหนึ่ง มีพ่อแม่ และลูกชายสองคน
ซึ่งดูไม่ได้มีอะไรที่น่าสนใจเลย  แต่นั่น....ก็เป็นเพียงแค่ในช่วงแรก


ตัวหนังชวนให้เริ่มง่วงตั้งแต่ฉากแรก ๆ ที่นำเสนอให้เห็นถึงชีวิตพนักงานเงินเดือนของญี่ปุ่น
ที่สุดแสนน่าเบื่อ ชวนให้ง่วงเหงาหาวนอนไปตาม ๆ กัน
แต่ถ้าหากดูไปเรื่อย ๆ ภาพยนตร์เรื่องนี้มีอะไรที่บีบให้คนดูต้องลุ้นและคาดเดาอยู่เหมือนกัน
เช่น ในฉากโจรปล้นบ้าน มั่นใจว่าคงมีหลาย ๆ คนรู้สึกขัดใจกับโจรในเรื่องนี้
ด้วยบุคลิกที่ดูเป็นโจรที่ไม่ฉลาดเอาเสียเลย ไม่ว่าจะทำอะไรก็เรียกเสียงหัวเราะจากคนดูไปซะหมด
หรือบทบาทที่ไม่อาจคาดเดาได้ของผู้เป็นแม่  ว่าในใจเธอกำลังคิดอะไรอยู่
ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้ดูน่าติดตาม
ซึ่งหาเรายังคงรักษาสมาธิการดูได้ตั้งแต่ต้นจนจบ เราก็จะเห็นถึง
การตีแผ่ปัญหาครอบครัวในสภาพสังคมญี่ปุ่นที่มนุษย์มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันน้อยลงได้เป็นอย่างดี

หากเป็นพ่อ ผู้เป็นหัวหน้าครอบครัว แม้จะตกงาน แต่ก็คงกล้าที่จะบอกกับทุกคนในครอบครัว
แต่การบอกครั้งนี้ก็ไม่ได้หมายถึงว่าจะเป็นการปัดภาระให้กับลูกหรือภรรยา
มันเป็นการแสดงให้เห็นถึงการร่วมด้วยช่วยกันคิดของคนในครอบครัวมากกว่า
เพราะถือว่าทุกคนในครอบครัวมีสิทธิ์ที่เท่าเทียมกัน เมื่อเกิดปัญหาก็ช่วยกันคิดและแก้
มากกว่าจะยกให้เป็นความรับผิดชอบของใครคนใดคนหนึ่ง

หากเป็นแม่ ผู้เป็นเหมือนช้างเท้าหลัง ว่าง่าย ปรนนิบัติสามีโดยไม่มีข้อถกเถียง
เหนื่อยแต่ก็อดทน เมื่อรู้ความจริงว่าสามีตกงานก็จะไม่ทนนิ่งเงียบไว้เหมือนไม่เคยรู้
แต่ก็อาจจะดูเป็นเรื่องยากสำหรับแม่บ้านชาวญี่ปุ่นหรือชาวไทยเอง
เพราะค่านิยมการเป็นช้างเท้าหลังถูกปลูกฝังไว้กับผู้หญิงเกือบทุกชนชาติ
แต่ถ้าหากว่าทำได้ นอกจากจะแก้ปัญหาครอบครัวได้แล้ว
ยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อคนภายในครอบครวอีกด้วย

หากเป็นลูกชายคนโต ผู้ที่หายหน้าออกจากบ้าน นานๆครั้งจึงจะกลับมาที
จะเข้าหาพ่อกับแม่ก่อน และเปิดใจพูดคุยด้วยเหตุผลกับพ่อและแม่ในทุก ๆ เรื่อง
อย่างน้อยการพูดคุยกันด้วยเหตุผลก็ถือเป็นสิ่งที่ดี

หากเป็นลูกชายคนเล็ก ที่มีปัญหากับครูในชั้นเรียน ไม่มีเพื่อนเป็นกลุ่มเป็นก้อน
แต่มีพรสววรค์ทางการเล่นเปียโน จะไม่ละทิ้งความฝันของตัวเอง 
แต่ก็ต้องพยายามอย่างมากในการสร้างมันด้วยตัว
ของตัวเองก่อน อีกทั้งจะคอยปรึกษา และพูดคุยกับพ่อและแม่ด้วยเหตุและผล
ดีกว่าการเม้มเงินค่าอาหารทุกเดือนเพื่อนำไปจ่ายเป็นค่าเรียนเปียโน

หากเป็นตนเอง จะมองทุกปัญหาด้วยหลักความเป็นจริง
หากปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นในครอบครัว ก็จะไม่มองว่าเป็นปัญหาของคนหนึ่งคนใด
แต่เป็นปัญหาที่ทุกคนควรจะช่วยกันแก้ไขมากกว่า
จะเริ่มจากการให้ความสำคัญกับการสร้างความสัมพันธ์ของคนมากกว่าวัตถุ
และคิดเสมอว่า

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ
"การสื่อสารและแสดงความรักต่อกันของคนในครอบครัว"


จุดพลิกผันในชีวิตของ พ่อ และ แม่ มาถึงเมื่อ

ความลับ ของพ่อถูกเปิดเผย หลังจากแม่มาเจอตอนทำความสะอาดในห้างด้วยความบังเอิญ
ทำให้พ่อแทบสติแตก เมื่อ ภาพลักษณ์หรือหน้าตา ที่ตัวเองห่วงไว้แตกสลายจนไม่เหลืออะไรเลย
แม่ ถูกโจรมาปล้นแล้วต้องทำอะไรบ้าๆ ได้นั่งรถที่ตัวเองใฝ่ฝัน ก็เหมือนกับเธอได้มีอิสระ
และในเวลาเดียวกันก็ ทำให้เธอได้สัมผัส ความทุกข์ ที่อัดอั้นเก็บกดมานานหลายปี 
จนไม่อยากจะเดินกลับไปเส้นทางเก่าที่สร้างความเจ็บปวดลึก ๆ ให้ตนเองอีกต่อไป 


ทฤษฎีสังคม

เมื่อได้ชมภาพยนตร์เรื่องนี้สิ่งหนึ่งที่นึกถึงคือ ความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว
เพราะหากพิจารณาดูจะเห็นได้ว่า หากทั้งพ่อและแม่ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูก
ยอมรับและเปิดใจให้กว้างต่อการรับฟังในสิ่งที่ลูกต้องการ
และในขณะเดียวกัน  ลูกชายทั้งสองที่มีความฝันต่างกันก็ต้องเข้าหาทั้งพ่อและแม่
มีการเชื่อมปฏิสัมพันธ์ที่ดีด้วยการขอคำปรึกษา ปัญหาครอบครัวในเรื่องก็คงจะไม่เกิด
ทฤษฎีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
เป็นทฤษฎีที่เน้นการมีปฎิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันของคนในสังคม 
ไม่ว่าจะเป็นภายในครอบครัว  โรงเรียน ชุมชน  และเชื่อมต่อจนกลายเป็นสังคมในที่สุด
ทำให้เรารู้จักการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องและเหมาะสมเมื่อเราต้องอยู่ในสังคม
ด้วยการสร้างความสนิทคุ้นเคย ขจัดความกลัวในการใช้ชีวิตแบบรวมกลุ่ม
มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมหนือความคิดเห็นต่าง ๆ ซึ่งกันและกัน
ดังนั้นคงจะเป็นสิ่งที่ดี ถ้ามีการนำทฤษฎีเหล่านี้ไปใช้ในสังคมมนุษย์ปัจจุบัน


... การที่เราแต่ละคนมีปัญหา ไม่ได้แปลว่า
ถ้ากลับเข้าบ้าน ปัญหาของเรา
จะกลายมาเป็น ปัญหาของครอบครัว เสมอไป

เพราะ ปัญหาของครอบครัว เกิดจาก ปัญหาของความสัมพันธ์ระหว่างกัน
ถ้าเจอปัญหา สามีเปิดอกคุยกับภรรยา ช่วยกันหาทางออก เจอความขัดแย้งกับลูก
ก็พูดคุยกันก่อนแล้ววางแผนแก้ปัญหา ปัญหาครอบครัวก็จะไม่เกิด
แต่หนังแสดงให้เห็นว่า ถ้าปัญหาจาก อัตตา ที่สั่งสมมานาน
และเห็น อัตตาสำคัญกว่า ความสัมพันธ์ ก็จะนำมาสู่ ปัญหาครอบครัวได้

คนบางคนกลัวเสียหน้า จึงปกปิดทุกๆปัญหาไว้ข้างใต้
คนบางคนห่วง รักษาหน้า เพราะ กลัวอับอาย จนไม่กล้ารับความจริง
คนบางคนเข้าใจผิดคิดว่า ศักดิ์ศรี กับ การรักษาหน้า เป็นเรื่องเดียวกัน


...Tokyo Sonata เป็น บทเรียนที่ดีสำหรับผู้คนยุคนี้
ที่รูปแบบชีวิตเต็มไปด้วยความเครียดและการแข่งขัน พร้อมๆกับ


อย่าเข้าใจผิด คิดว่า ศักดิ์ศรี คือ การมีหน้ามีตา
คือ การที่ไม่สามารถทำงานที่ตกต่ำกว่าเดิม
แต่ ศักดิ์ศรีที่แท้ คือ การที่เราเคารพตัวเองและผู้อื่น
เคารพในงานที่ตัวเองทำและ ไม่ทำสิ่งผิดให้ต้องละอายใจ


เรื่องของพ่อใน Tokyo Sonataยังแสดงให้เห็นว่า
เราอาจไม่ได้ทำในสิ่งที่เรารัก แต่เมื่อเรียนรู้ที่จะปรับตัว
เราก็สามารถที่จะอยู่กับงานนั้นได้โดยไม่เป็นทุกข์มากจนเกินไป

เราสามารถค้นพบ ความสุข ได้ ในสภาพปัญหาสังคมที่ตกต่ำ
ตราบใดก็ตามที่เราไม่ปล่อยให้ตัวเองเป็นเหยื่อของอัตตาที่โตมากเกินไป
และ ตราบใดที่เราไม่ปล่อยให้ ภาพลักษณ์หรือศักดิ์ศรี

อยู่เหนือความรักและครอบครัว


สรุป ... สำหรับคนรักหนังดราม่า ห้ามพลาดที่จะไปพิสูจน์ว่า
เพราะอะไร หนังเรื่องนี้ถึงไปคว้า Un Certain Regard Jury Prize
จากเทศกาลหนังเมืองคานส์ มาได้สำเร็จ

ถ้าไม่รับที่ว่าช่วงแรกๆหนังชวนง่วงมากเกินไป
ทุกอย่างของหนังเรื่องนี้ยอดเยี่ยมคุ้มค่ากับการรับชม

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง

Tokyo Sonata – Official Website (ภาษาญี่ปุ่น)


คำถาม

แล้วสภาพครอบครัวในสังคมไทยล่ะ 
มีความเหมือนหรือแตกต่างจากสภาพครอบครัวในสังคมญี่ปุ่นหรือไม่?